ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย
ข่าวจากอาเซียนริวิวแจ้งว่า บริษัทแม่ของ 7-11 จะทำการซื้อกิจการเพื่อขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกของตนในสหรัฐอเมริกา เป็นมูลค่า 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้บริษัท เซเว่น แอนด์ไอ โฮลดิงส์ ได้ยื่นประมูลซื้อธุรกิจค้าปลีกสปีดเวย์ (Speedway) ซึ่งเป็นของบริษัทกลั่นน้ำมันมาราธอน ด้วยจำนวนเงิน 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลสำเร็จและประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคมศกนี้
การเจรจาตกลงทางธุรกิจในครั้งนี้ถือว่าเป็นการดีลที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับแต่การแพร่ระบาดของโควิด ที่มีผลลบต่อธุรกิจโดยทั่วไป จึงต้องนับว่าบริษัทเซเว่น แอนด์ไอ โฮลดิงส์ ที่เป็นบริษัทแม่ของ 7-11 นั้นมีความกล้าหาญหรือมีกึ๋นมากที่จะมองการไกลในทางธุรกิจจนตัดสินใจซื้อสปีดเวย์ในครั้งนี้
และเมื่อมีการประกาศข่าวการซื้อออกไป หุ้นของบริษัทก็ร่วงลงมาถึง 8% อันนับว่าร่วงมาในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2013
ประธานบริษัท Seven & I แถลงว่า 7- Elevent ในสหรัฐเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความก้าวหน้าในการเจริญเติบโต
แม้ว่าธุรกิจค้าปลีกของ 7- Elevent ในช่วงโควิดระบาด จะประสบปัญหาด้วยหลายสาเหตุ เช่น การขยายสาขาจนอิ่มตัว ความยากลำบากในการหาพนักงานเพราะเข้าสู่ยุคคนสูงวัย และการแข่งขันที่รุนแรงจากธุรกิจค้าปลีกด้วยคู่แข่งหลายแบรสด์ภายในประเทศญี่ปุ่นก็ตาม
ด้านบริษัทแม่มีแผนที่จะปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรประมาณ 1,000 แห่ง และจะปรับลดพนักงานทั้งหมด 3,000 คนภายใน 3 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการลดชั่วโมงทำงานจาก 24 ชม. ลงในบางสาขาบ้างแล้ว
เมื่อย้อนไปมองในอดีตที่มีการเริ่มกิจการเซเว่น-อีเลฟเว่น ในญี่ปุ่นนั้น ธุรกิจของบริษัทได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการตอบรับอย่างดี แม้จะต้องแข่งขันกับร้านโซห่วยแบบญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชุมชนก็ตาม
แต่ประสบความสำเร็จในย่านธุรกิจเพราะเป็นที่นิยมของพนักงานบริษัทต่างๆที่นิยมหาซื้อของรับประทานตอนกลางวันที่ราคาอาหารถูกกว่าไปรับประทานตามร้านอาหารในระแวกใกล้เคียง หรือลดภาระในการเตรียมอาหารมาจากบ้าน
ในบางสาขาที่อยู่ในเขตธุรกิจติดชุมชน 7- Elevent ได้ปรับกลยุทธ์ในการจัดการเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ด้วยการปรับเปลี่ยนที่ตั้งสินค้าเป็นรายชั่วโมง กล่าวคือ ในช่วงเช้าพนักงานบริษัทมาใช้บริการมากก็จัดสินค้าประเภทนั้นๆ เช่น กล่องข้าวอาหารเช้า-กลางวันมาไว้บริเวณหน้า พอตอนสายแม่บ้านออกมาหาซื้อของก็จัดของที่ต้องการมาไว้ข้างหน้า ครั้นตอนบ่ายนักเรียนเลิกเรียนก็จัดสินค้าบริการนักเรียนมาไว้ด้านหน้า ตอนเย็นก็จัดสินค้าสำหรับพ่อบ้านที่เลิกงานได้ซื้อหามาไว้ด้านหน้า เป็นต้น ทำให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าเพราะลูกค้าหมุนเวียนรวดเร็วไม่ต้องใช้เวลานานในการเดินหาสินค้า
สำหรับจุดเริ่มต้นของธุรกิจ 7- Elevent นี้ เดิมทีเป็นร้านสะดวกซื้อของบริษัทเซาท์ แอนด์ไอซ์ ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ที่เปิดร้านเมื่อปี ค.ศ.1927 เพื่อขายน้ำแข็งให้ผู้บริโภค โดยทำการผลิตและจำหน่ายตามร้านตั้งแต่ 07.00 – 11.00 น. (เกือบเที่ยงคืน) โดยเปิดทุกวัน ต่อมาเห็นว่าจะใช้ประโยชน์จากการเปิดร้านจึงนำเอาของใช้และของบริโภคมาจำหน่ายด้วย ซึ่งเป็นที่ตอบรับอย่างดี จึงกลายเป็นต้นแบบของร้านสะดวกซื้อต่อมา
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 บริษัทเริ่มมีปัญหาทางการเงิน จึงขายแฟรนไชส์ให้กับอิโต-โยคะโด ซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด จนทำให้มีอำนาจควบคุมบริษัทในปี 1995 โดยได้ก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ ขึ้นมาควบคุมการบริหาร
การเข้าซื้อสปีดเวย์ ซึ่งเป็นบริษัทสะดวกซื้ออันดับ 3 ของสหรัฐฯที่มีสาขา 4,000 แห่ง ในขณะที่บริษัทของแคนาดา คือ Alimentation Couche-Tard ที่มีบริษัทสะดวกซื้อในมือมีสาขา 8,000 แห่งถือว่าเป็นอันดับสอง โดยร้านค้าที่บริหารชื่อว่า เซอร์เคิล เค (Circle k) ทำให้ 7-11 สหรัฐฯมีขนาดนำโด่งจากคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามร้านสะดวกซื้อสปีดเวย์นั้น จะตั้งอยู่กับปั๊มน้ำมันแบบบริการตนเอง โดยบริษัทแม่มาราธอนที่เป็นบริษัทกลั่นน้ำมันเป็นผู้จัดส่งน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ดีลครั้งนี้บริษัทมาราธอนก็จะได้จำหน่ายน้ำมันให้กับบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ ที่มีปั๊มน้ำมันทั้งหมด และเป็นการลดภาระทางการเงินของมาราธอนอีกด้วย
ปัญหาที่อาจจะเกิดกับเซเว่นแอนด์ไอ ก็คือรถยนต์ที่จะใช้น้ำมันมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต และหันมาใช้แบตเตอรีแทน ซึ่งปั๊มของเซเว่น แอนด์ไอ ในอนาคต อาจต้องลงทุนปรับเปลี่ยนเป็นสถานีเติมไฟแบตเตอรี่
สำหรับ 7- Elevent ในประเทศไทยนั้นเป็นการซื้อแฟรนไชด์มาจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น โดยบริษัทซีพี ซึ่งได้ตั้งเป็นบริษัท CPALL (ซีพีออล) เพื่อมาบริหารแฟรนไชด์ในประเทศไทย
เมื่อเริ่มดำเนินการ 7-11 ก็เปิดบริการในแหล่งชุมชน ซึ่งเป็นการแข่งขันกับโชห่วย ทำให้เกิดผลกระทบมาก เพราะโชห่วยไทยไม่เข้มแข็งเท่าของญี่ปุ่น
ต่อมา ซีพีออล ก็ขยายกิจการไปยังปั้มน้ำมันของปตท. ทำให้เติบโตอย่างรวดเร็วจนมีสาขากว่า 8,000 แห่ง ในจำนวนเหล่านี้มีทั้งที่เป็นแฟรนไชส์ และเป็นสาขาโดยตรงของบริษัท ซึ่งมักจะเลือกทำเลที่ดีมีกำไรมาก
ที่ทำให้บริษัทแม่ประหลาดใจคือร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในประเทศไทยทำกำไรโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละสูงกว่าค่าเฉลี่ยในญี่ปุ่น
ดังนั้นจึงควรวิเคราะห์ถึงความสำเร็จนี้ของซีพีออลในประเทศไทย ว่าทำอย่างจึงมีอัตรากำไรสูง ดังจะพิจารณาโดยสังเขปได้ดังนี้
ประการแรกต้นทุนในการบริหารค่อนข้างต่ำกว่าที่ญี่ปุ่นมาก เมื่อคิดเป็นร้อยละ
ประการที่สอง ซีพีออลได้ขยายธุรกรรมให้แตกสาขากิ่งก้านออกไปมากเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น บริการทางการเงิน การจ่ายค่าบริการต่างๆ และทำหน้าที่เป็น Banking Agent ของธนาคารพาณิชย์ การขายประกัน รับเครดิตการ์ด เป็นต้น
ประการที่สาม ซีพีออลได้ใช้ศักยภาพในด้านการตลาด ขยายสาขาออกไปมาก ขนาดตั้งร้านแทบชนกันก็มี นอกจากนี้ซีพีออลยังมีสินค้าที่ผลิตเองส่งตามสาขาด้วย
ประการที่สี่ ซีพีออลมีเครือข่ายที่เป็นบริษัทผู้ค้าส่ง จึงได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆ เช่น แฟมิลี่มาร์ท ลอว์สัน ส่วนร้านสะดวกซื้ออื่นๆ เช่น เฟรชมาร์ท และ เชสเตอร์กริล ก็เป็นของซีพีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในอนาคตซีพีที่มีเครือข่ายทางธุรกิจหลากหลายอาจขยายธุรกิจในการทำปั๊มน้ำมัน แทนที่จะไปเปิดร้านในปั๊มของปตท. ทั้งนี้เพราะซีพียังเป็นเจ้าของกิจการผลิตรถยนต์และนำเข้ารถยนต์เอ็มจี ซึ่งในอนาคตอาจเปลี่ยนเป็นสถานีชาร์ตแบตเตอรีของรถไฟฟ้าอีกด้วย
ครับวันนี้ขอไม่พูดถึงการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพราะรู้สึกเซ็งมากๆเลย จบแค่นี้แล้วกัน
August 07, 2020 at 12:10AM
https://ift.tt/3a2jm0Z
ก้าวใหม่ของ 7-11 ในโลกธุรกิจค้าปลีก - สยามรัฐ
https://ift.tt/3faRoSj
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ก้าวใหม่ของ 7-11 ในโลกธุรกิจค้าปลีก - สยามรัฐ"
Post a Comment