ไกด์ไลน์ธุรกิจรับซื้อผลไม้ มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย 2563 ช่วยดูแลเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรม ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ กดราคาห้ามฮั้วรับซื้อผลไม้
นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เรื่อง แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรม การผูกขาดหรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ให้ได้รับความเป็นธรรมจากผู้รับซื้อผลไม้ (ล้ง)
ประกาศดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ได้แก่
1.การกำหนดเงื่อนไขอย่างไม่เป็นธรรม หรือละเว้นการกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม ได้แก่ การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ การกำหนดไม่ให้เกษตรกรมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนให้เกษตรกรมีสิทธิริบเงินมัดจำกรณีผู้รับซื้อผลไม้ผิดนัด
และการไม่ระบุวันสิ้นสุดของสัญญาซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้ การแก้ไขสัญญาเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเกษตรกรหรือใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าให้เกษตรกรยินยอม และเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาในลักษณะอื่นๆ
2.การกำหนดหรือปรับลดราคารับซื้อ หรือกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมภายหลังการทำสัญญา ซึ่งส่งผลต่อการปรับลดราคารับซื้ออย่างไม่เป็นธรรม ได้แก่ การปรับลดราคารับซื้อผลไม้
ให้แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การกำหนดระดับคุณภาพ (เกรด) ของผลไม้
หรือเงื่อนไขอื่นใดอย่างไม่เป็นธรรมในขณะที่เก็บผลไม้หรือภายหลังเข้าเก็บผลไม้ เช่น ขนาดของผล ลักษณะของผล หรือสีของเปลือก เป็นต้น ให้ต่ำกว่าความเป็นจริงและแตกต่างจากมาตรฐานที่กำหนดเพื่อการปรับลดราคารับซื้อให้แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในสัญญา และการกำหนดเงื่อนไขอื่นหรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ในการรับซื้อ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งส่งผลให้ราคารับซื้อลดลง
3.การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ได้แก่ การชะลอการเข้าเก็บผลไม้ให้แตกต่างจากเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้หรือขายได้ในราคาที่ลดลง
การเก็บผลไม้ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา หรือเลือกเก็บผลไม้บางส่วน ในกรณีที่มีการทำสัญญารับซื้อแบบเหมาสวน ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้หรือขายผลไม้ได้ในราคาที่ลดลง และพฤติกรรมในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องของการตกลงร่วมกัน หรือการฮั้วกัน ของผู้รับซื้อผลไม้ในตลาดเดียวกัน ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ที่เป็นการร่วมกันผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขัน ได้แก่ 1.การร่วมกันกำหนดราคาซื้อหรือเงื่อนไขทางการค้าใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมที่ส่งผลต่อราคาผลไม้
2.การร่วมกันจํากัดปริมาณของสินค้าที่ผู้รับซื้อผลไม้แต่ละรายจะซื้อตามที่ตกลงกัน 3.การร่วมกันกำหนดแบ่งท้องที่หรือกำหนดเกษตรกรผู้รับซื้อผลไม้แต่ละรายจะซื้อผลไม้ อันเป็นการจำกัดทางเลือกขายของเกษตรกร
“ผู้รับซื้อผลไม้ตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ หรือรับซื้อแล้วนำมาคัดบรรจุในหีบห่อ หรือภาชนะใด ๆ เพื่อผลิตหรือจำหน่ายต่อภายในหรือส่งออกและเข้าทำสัญญากับเกษตรกร หรือล้ง ส่วน เกษตรกร หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายผลไม้ และเข้าทำสัญญากับล้ง ส่วนสัญญาคือ สัญญาซื้อขายหรือสัญญาจะซื้อจะขายผลไม้หรือที่เรียกเป็นอย่างอื่นที่จัดทำขึ้นระหว่างผู้รับซื้อผลไม้กับเกษตรกร”
“มั่นใจว่าแนวปฏิบัติดังกล่าว จะช่วยสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติทางการค้าให้เป็นไปตามหลักการประกอบธุรกิจที่เสรีและเป็นธรรม ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเกษตรกรและผู้รับซื้อผลไม้ (ล้ง) ทำให้เกษตรกรได้รับการดูแล ส่วนล้ง ก็จะได้ทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานทางการค้าในธุรกิจรับซื้อผลไม้ของประเทศด้วย” นายสมศักดิ์กล่าว
September 13, 2020 at 10:21AM
https://ift.tt/32qSRjy
ชาวสวนผลไม้ ถูก 'ล้ง' เอารัดเอาเปรียบ ร้องที่บอร์ดแข่งขันทางการค้า - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/3faRoSj
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ชาวสวนผลไม้ ถูก 'ล้ง' เอารัดเอาเปรียบ ร้องที่บอร์ดแข่งขันทางการค้า - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment