นอกเหนือจากเครื่องมือทางการเงินแล้ว ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ทางเลือกอื่นในการบริหารความเสี่ยงได้เช่นกัน อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ในไทย ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการที่จะขายเงินตราต่างประเทศทันทีการบริหารรายได้และรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้สอดคล้องกันหรือการจัดการแบบ Naturalhedge การใช้เงินตราต่างประเทศหลายสกุลกับคู่ค้าแทนการใช้เงินสกุลเดียวเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลากหลายวิธีในการป้องกันความเสี่ยงแต่การขาดความรู้ความเข้าใจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่กล้าป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อแก้ปัญหาธปท.ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานภาครัฐหาทางช่วยเหลือโดยตั้งแต่ปี 2561 ได้มีโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้แก่ SMEs รวมถึงหากผู้ประกอบการใดมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและผ่านการอบรมภาครัฐจะสนับสนุนเงินให้ทดลองใช้เครื่องมือ “การประกันค่าเงิน” หรือ FXoptions ซึ่งในปี 2563 ให้วงเงินรวม 100,000 บาท ต่อราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆที่ให้เงินอุดหนุน 30,000 บาทต่อรายในปี2561 และ 50,000 บาท ต่อรายในปี2562 โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามได้จากธนาคารที่ร่วมโครงการ
มองไปข้างหน้าความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแนวโน้มลดลงหากผู้ประกอบการไม่บริหารความเสี่ยงเลยผู้ส่งออกมีโอกาสจะทำกำไรได้มากในกรณีบาทอ่อนแต่ก็มีโอกาสขาดทุนมากเช่นกันหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นจึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการให้นำค่าประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับการส่งสินค้าไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องซื้อประกันการขนส่งสินค้าเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกันควรเป็นส่วนหนึ่งของการทำประกันตามปกติค่ะ
**บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด**
September 07, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/3lU46sF
โครงการประกันค่าเงิน : ตัวช่วยSMEsป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3faRoSj
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โครงการประกันค่าเงิน : ตัวช่วยSMEsป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน - ไทยรัฐ"
Post a Comment